
ยาง
1.1 การดูแลยางให้คุ้มค่า
การเลือกใช้ยางให้เหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่ จำเป็นต้องคำนึงถึงขนาด ความเร็วสูงสุดและ
สมรรถนะต่าง ๆ ของรถจักรยานยนต์ ซึ่งสามารถอ่านได้จากคู่มือรถจักรยานยนต์หรือสอบถามจาก
บริษัทผู้ผลิตจักรยานยนต์นั้น ๆ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของยางแต่ละเส้น
รวมถึงพฤติกรรมการขับขี่การควบคุมบังคับรถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่ มาเป็นข้อพิจารณาเลือกยาง
ที่เหมาะสมต่อไป
1.2 การใส่ยางรถจักรยานยนต์
จะต้องดูว่ารถจักรยานยนต์ที่ใช้ขับขี่นั้น จัดอยู่ในประเภทที่ใช้ยางในหรือไม่ใช้ยางใน แล้วจึงเลือก
ชนิดของยางให้ถูกประเภทของรถจักรยานยนต์นั้น ๆ ด้วย เช่น ยางชนิดไม่ใช้ยางในควรใส่บนกระทะ
ล้อชนิดไม่ใช้ยางในเท่านั้น และห้ามใส่ยางในกับยางรถจักรยานยนต์ ที่ไม่ใช้ยางในเป็นต้น
1.3 การถอดยาง
-ถอดแกนวาล์วแล้วปล่อยลมยางออก
-ขยับให้ขอบยางพ้นจากขอบล้อ แล้วทาสารหล่อลื่นที่ขอบและปีกกระทะล้อให้รอบทุกด้าน
-ใช้เหล็กงัดยางปลายแบน 2อันงัดเอายางออกจากกระทะล้อ
1.4 การสูบลมยางรถจักรยานยนต์
ต้องตรวจเช็คความดันลมเมื่อยางเย็นหรือก่อนวิ่งหรืออย่างน้อยที่สุดหนึ่งชั่วโมงคือหลังจากหยุดรถ
เพราะความร้อนของยางขณะวิ่งจะทำให้ความดันลมขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงไม่ควรจะปรับความดันลม
ขณะยางร้อน ความดันลมที่ถูกต้อง จะมีผลต่อการยึดเกาะถนนซึ่งหมายถึง ความปลอดภัย การทรงตัว
ความนุ่มนวลสะดวกสบาย และอายุการใช้งานที่ยาวนาน ตลอดจนสมรรถนะที่เหมาะสม กับสภาพการ
ใช้งาน การสูบลมยาง สามารถดูได้จากคู่มือยางรถจักรยานยนต์จากบริษัทผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน
1.5 การใช้และการตรวจสอบยาง
-เลือกขนาดและชนิดของยางให้เหมาะสมตามที่คู่มือรถกำหนดไว้
-สูบลมยางให้ถูกต้องตามอัตราที่กำหนด (ควรสูบลมขณะที่ยางเย็น) และตรวจลมยางอย่างน้อย
สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
-เมื่อเดินทางไกลควรสูบลมเพิ่ม 1-2 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
-ปิดฝาจุกยางเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
-ตรวจสภาพการสึกหรอของยาง โดยตรวจดูดอกยางตรงที่มีเครื่องหมายสามเหลี่ยม
ข้อสังเกต
เมื่อรถสั่นสะเทือนมากขณะวิ่ง จะพบว่ามีสาเหตุมาจาก
-สูบลมยางแข็งเกินไป
-โช๊คอัพเสีย
-ยางไม่สมดุล
ระบบเบรค ( ระบบห้ามล้อ)
ระบบเบรค มีทั้งดรัมเบรคและดิสก์เบรค ดิสก์เบรคเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัย
ดีกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่าดรัมเบรค โดยให้สังเกตจากกระปุกน้ำมันเบรค หากน้ำมันลดลงก็
หมายความว่าผ้าเบรคสึกหรอลดลงไปเรื่อย ๆ หรือหากน้ำมันเบรคต่ำกว่าระดับ MINแสดงว่าผ้าเบรค
หมดให้เปลี่ยนผ้าเบรคใหม่และทุกๆปีควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคทั้งหมดการตรวจเช็คผ้าเบรค
โดยดูจากร่องที่ผ้าเบรคถ้าสึกมากให้รีบเปลี่ยนถ้าไม่เปลี่ยนปล่อยไว้นานอาจทำให้จานเบรคเสียหายได้
การปรับระยะผ้าเบรคนั้นระบบดิสก์เบรคเป็นระบบอัตโนมัติในขณะที่ดรัมเบรคต้องปรับตั้งระยะผ้าเบรค
ทันทีที่รู้สึกว่าเบรคต่ำนั้นคือต้องบีบหรือเหยียบมากกว่าปกติซึ่งเมื่อปรับจนหมดระยะที่เครื่องหมายบอก
แล้วแสดงว่าผ้าเบรคบางมากให้รีบเปลี่ยนใหม่เพราะจะทำให้เบรคไม่อยู่เกิดเสียงดังและเบรคค้างได้
โซ่ / สเตอร์
รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนที่ด้วยโซ่และสเตอร์นั้นซ่อมง่ายดูแลง่ายแต่ก็สึกหรอง่ายกว่าระบบเพลา
เพราะทั้งสองส่วนต้องทำงานร่วมกันเช่นหากโซ่หมดอายุก็จะทำให้สเตอร์เสียหายไปด้วย จึงต้อง
คอยดูแลตรวจสอบความตึงหย่อนของโซ่ทุกๆสัปดาห์ ์โดยเฉพาะในระยะรัน–อินที่โซ่จะยืดตัวมาก
อีกทั้งไม่ควรตั้งโซ่ให้ตึงมากเกินไปเพราะจะทำให้ทั้งโซ่และสเตอร์สึกหรอมากหากต้องใช้งานบรรทุก
หนักลุยน้ำลุยโคลนต้องคอยตรวจดูความหนาแน่นของข้อต่อโซ่และลูกกลิ้งว่ายังหมุนได้คล่องหรือ
ไม่หากข้อต่อติดต้องรีบเปลี่ยนทันทีเนื่องจากมีสิทธิขาดได้ตลอดเวลาการบำรุงรักษาโซ่ควรหล่อลื่น
ด้วยน้ำมันเกียร์เป็นประจำหากสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำมันโซล่าหรือเบนซินโดยใช้แปรงอย่าแช่ทิ้งไว้
เพราะจะทำให้โอริงแข็งและเสื่อมคุณภาพส่วนสเตอร์นั้นจะเสื่อมไปตามสภาพเช่นฟันล้มหรือบิ่น
โดยมากโซ่และสเตอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10,000กิโลเมตรเมื่อถึงระยะเวลาเปลี่ยนควร
เปลี่ยนทั้งชุด
ไฟฟ้า
พลังงานขับเคลื่อนรถจักรยานยนต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ไฟฟ้า ซึ่งมาจากแหล่งพลังงานแบตเตอรี่
ที่เราต้องคอยดูแลบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องระบบไฟ เช่น
-ตรวจดูระดับน้ำยาแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับสูงสุด (MAX) หรืออย่างน้อยต้องไม่อยู่ในระดับต่ำสุด
(MIN)ถ้าน้ำยามีระดับต่ำต้องรีบเติมน้ำกลั่นลงไปให้ได้ระดับมิฉะนั้นจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมและ
เสียเร็วแล้วยังต้องคอยสังเกตด้วยว่าน้ำยาในแบตเตอรี่แห้งหรือไฟหมดเร็วกว่าปกติหรือไม่ถ้ามี
ต้องรีบตรวจสอบระบบไฟฟ้าทันที
-ตรวจดูขั้วสายแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบว่าหลุดหลวมหรือไม่มีขี้เกลือขึ้นหรือไม่ถ้ามีให้ใช้
น้ำอุ่นล้างแล้วเอาแปรงลวดขัดให้ออก
-ตรวจสอบสายระบายไอของแบตเตอรี่ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่เพราะอาจทำให้ชิ้นส่วน
ที่ถูกไอระเหยของแบตเตอรี่ผุกร่อนได้
กรอง / ไส้กรอง
กรองอากาศ ไส้กรองต้องทำหน้าที่ในการกรองฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศไม่ให้เข้าไปใน
เครื่องยนต์ หากไส้กรองต้องทำงานหนักจะทำให้ “ กรองอากาศตัน” ซึ่งมีผลให้เครื่องยนต์กิน
น้ำมันมากขึ้น แต่วิ่งไม่ค่อยออก โดยทั่วไปควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ทุก ๆ
4,000 กิโลเมตรและเปลี่ยนทุก 12,000กิโลเมตรแต่ก็ขี้นอยู่กับสภาพการใช้งานด้วยถ้ารถ
จักรยานยนต์ใช้งานในสถานที่ที่มีฝุ่นมากๆก็ต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
วิธีทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
-ถอดไส้กรองอากาศออกมาล้างด้วยน้ำมันเบนซินประมาณ 3 ถึง 4 น้ำจนกว่าจะสะอาดแล้ว
บิดผึ่งให้แห้งสนิท
-นำมาชะโลมให้ทั่วด้วยน้ำมันออโต้ลู้ปให้พอหมาดๆต้องทำความสะอาดตัวกล่องกรองอากาศ
ด้วย
-ประกอบกลับที่เดิม ระวังอย่าให้ไส้กรองฉีกขาด
ไส้กรองอื่น ๆ เช่น ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง แบบที่เป็นตะแกรงกรองในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
ซึ่งถอดออกล้างทำความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำมันเบนซิน ( แต่ไม่ต้องล้างบ่อย ๆ) ซึ่งจะใช้งานได้
เกือบตลอดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ แต่ถ้าเป็นไส้กรองกระดาษควรเปลี่ยนทุก ๆ 5,000
กิโลเมตรเพราะทำความสะอาดไม่ได้
หม้อน้ำ / หม้อพัก
รถที่มี “ หม้อน้ำ” จะระบายความร้อนได้ดีกว่า “ หม้อลม” แต่ต้องมีการดูแลรักษามากกว่า โดยจะ
ต้องหมั่นตรวจดูระดับน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำสำรองทุกวัน ( ซึ่งปกติแล้วระดับน้ำในหม้อน้ำ
และในถังพักน้ำสำรองจะเท่ากัน แต่ถ้าจะให้มั่นใจควรเปิดตรวจดูทั้งสองที่) ควรล้างหม้อน้ำอย่างน้อย
2 – 3 เดือนต่อครั้งและใช้น้ำยาหม้อน้ำผสมกับน้ำธรรมดาในอัตราส่วน 50/50 จะช่วยไม่ให้เกิดสนิม
หรือตะกรันในหม้อน้ำ ทางเดินของน้ำก็จะไหลได้สะดวก น้ำยาที่ผสมนี้ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่ล้างหม้อน้ำ
อีกทั้งยังต้องคอยตรวจสอบครีบระบายความร้อนของหม้อน้ำไม่ให้ย่น เพราะจะทำให้ลดพัดผ่านลำบาก
ทำให้การระบายความร้อนไม่ดี นอกจากนี้ขณะขับขี่ต้องคอยดูเกจ์ความร้อน หากขึ้นถึงขีดแดงหรือที่
เรียกว่า “ โอเวอร์ฮีด” ให้ดับเครื่องพักทันที แล้วนำไปเข้าศูนย์บริการซ่อมรถจักรยานยนต์เพื่อให้ช่าง
ตรวจสอบทันที
น้ำมัน
ต้องหมั่นตรวจสอบความสิ้นเปลืองของน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันออโต้ลู้ปเพราะ
จะทำให้เรารู้สภาพของเครื่องยนต์ว่ามีความสึกหรอมากน้อยเพียงใด เครื่องยนต์ที่สึกหรอมาก มักจะ
สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันออโต้ลู้ป โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากเครื่องยนต์หลวม หัวเทียน
เสื่อมหรือกรองอากาศตัน ซึ่งมีวิธีตรวจสอบง่าย ๆ ดังนี้
-เติมน้ำมันให้เต็มถัง แล้ววัดระยะจากน้ำมันที่เติมเข้าไปกับปากถังว่าได้ระยะเท่าไร ให้จดเอาไว้
แล้วต่อไปก็ต้องเติมให้ได้เท่านี้ การเติมก็ควรใช้กระบอกตวงหรือขวดที่มีขีดบอกปริมาตรที่แน่นอน
ค่อย ๆ เติมลงไปจนน้ำมันอยู่ในระดับเดิม เมื่อวัดจากปากถังซึ่งปริมาณน้ำมันที่เติมลงไปก็คือ
ปริมาณน้ำมันที่รถของเราใช้ไปนั่นเอง
-จดตัวเลขระยะบนเรือนไมล์ ขณะเติมน้ำมันแล้วเอามาคำนวณ ถ้าเป็นไมล์แบบกำหนดตั้งที่เลขศูนย์
ไม่ได้ ก็ต้องเอาตัวเลขแรกไปลบออกจากตัวเลขหลังเพื่อให้ได้ระยะทางที่เราวิ่งไป แล้วนำระยะนี้
ไปหารด้วยปริมาณน้ำมันที่เราตวงได้ก็จะได้เป็นอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน การวัดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันนี้
ควรจะทำเป็นระยะ โดยเริ่มครั้งแรกตั้งแต่ตอนอยู่ในระยะรัน – อิน แล้วเก็บข้อมูลเอาไว้เปรียบเทียบ
กับครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าแตกต่างกันมากต้องรีบแก้ไขทันที
ที่มา : http://www.udon108.com/board/index.php?topic=96572.0