|
1. |
วัตถุดิบ |
|
- วัตถุดิบที่ใช้ผลิตได้มาตรฐานตามที่กำหนด |
|
|
2. |
เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต |
|
- มีมาตรฐานการใช้งานเครื่องจักร |
|
- พนักงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ |
|
- มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรรวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ |
|
|
3. |
กระบวนการต่างๆ ในการผลิต |
|
- มีมาตรฐานแสดงขั้นตอน หรือวิธีการผลิต |
|
- พนักงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ |
|
|
4. |
การตรวจวัดและบันทึกข้อมูล |
|
- มีการตรวจวัดและบันทึกค่าที่สำคัญของชิ้นงานทุกกระบวนการผลิต |
|
|
|
แบตเตอรี่มีหน้าที่ ดังนี้
|
|
ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บกักและจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับส่วนต่างๆ ของรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลง
ระหว่างพลังงานไฟฟ้าและปฏิกิริยาเคมีแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ |
1. |
แบบธรรมดา หรือชนิดที่ต้องเติมน้ำกลั่น |
2. |
แบบไม่ต้องบำรุงรักษา หรือชนิดที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น |
|
ในที่นี้ขอกล่าวถึงแบตเตอรี่แบบที่ 2 เพราะเป็นชนิดที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่ผลิตออกมาในปัจจุบัน |
1. มีความทนทานสูง
ทนต่อแรงสั่นสะเทือนขณะขับขี่บนพื้นผิวเรียบหรือ ขรุขระ และทนต่อแรงดันอากาศสูงเมื่อขับขี่บริเวณ พื้นที่อากาศร้อนจัด |
|
2. อายุการใช้งานยาวนาน
เนื่องจากใช้ตะกั่วแคลเซียมในการผลิตโครงแผ่น ธาตุบวกและลบ ซึ่งมีอัตราการคายไฟด้วยตัวเองต่ำ และมีสาร Sulfate Stop ป้องกันการเกิดซัลเฟต บนผนังแผ่นธาตุทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ ยาวนาน |
|
3. สะดวกต่อการใช้งาน
รถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่ผลิตในปัจจุบันใช้แบตเตอรี่ ชนิดไม่ต้องเติมน้ำกลั่น จึงสะดวกในการดูแลรักษา สามารถติดตั้งได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยให้ขั้ว ของแบตเตอรี่อยู่ด้านบน |
|
ข้อควรจำ !
- ควรเข้ารับบริการให้บ่อยครั้งขึ้น เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่ ฝนตกหรือในเส้นทางที่มีฝุ่นมาก
- การตรวจเช็คแบตเตอรี่ ควรทำการตรวจทุกๆ 4,000 กิโลเมตร
|
|
|
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่
|
1. ตรวจเช็คสภาพของแบตเตอรี่ จากช่างผู้ชำนาญ หรือ ศูนย์บริการฮอนด้าทั่วประเทศ |
|
2. ใช้เครื่องชาร์ตและเครื่องตรวจสอบแบตเตอรี่ แบบมาตรฐานคุณภาพสูง จะช่วยยืดอายุการ ใช้งานของแบตเตอรี่ |
|
|
|
3. . ตรวจระบบไฟชาร์ตของรถ ด้วยเครื่องมือและวิธีการ ที่ถูกต้องจากช่างผู้ชำนาญหรือ ศูนย์บริการฮอนด้าทั่ว ประเทศจะได้ใช้แบตเตอรี่ได้นานๆ และมั่นใจ |
|
4. หากไม่ใช้รถนานๆ ควรถอดแบตเตอรี่ออกมา ชาร์ตและเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น หมั่นตรวจ ความจุของกระแสไฟทุกๆ เดือน |
|
|
|
|
แบตเตอรี่ฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
|
รุ่นสตาร์ตเท้า |
|
|
รุ่นสตาร์ตมือ |
|
หมายเลขอะไหล่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ฝ่ายขายอะไหล่ 02-7576111 |
|
ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ฮอนด้า
|
|
|
คุณสมบัติที่ดีของแบตเตอรี่
|
แผ่นกั้น
|
(Separators & Glass mat)
|
|
วิธีสังเกตแบตเตอรี่แท้ของฮอนด้า
|
แบบที่ 1
|
แบบที่ 2
|
|
การเปรียบเทียบอะไหล่แท้กับอะไหล่ทั่วไป
|
|
สายพานมีหน้าที่ดังนี้
ทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายกำลังที่รับมาจากเครื่องยนต์ไปยังล้อหลัง ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบ A.T. ของฮอนด้า มีสายพานเป็นตัวส่งกำลัง สายพานจะค่อยๆ สึกหรอจากการใช้งาน หากความกว้างของ สายพานน้อยกว่ามาตรฐาน รถคันนั้นวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิมจะใช้รอบเครื่องยนต์สูงกว่าเดิม รอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นจะทำให้ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ และความเร็วรถจะลดลง
เพื่อประสิทธิภาพของรถจักรยานยนต์และการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ควรตรวจสอบและทำความสะอาดทุกๆ 8,000 กิโลเมตร หรือทำการเปลี่ยนสายพานใหม่ทุกๆ 24,000 กิโลเมตร
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสายพาน
1. ตรวจดูสายรัดท่อนำอากาศเข้าห้องสายพาน อย่าให้หลุดหลวม
2. หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำเกินระดับท่อนำอากาศเข้าห้องสายพาน
3. หลีกเลี่ยงการใช้งานเมื่อเปิดฝาครอบสายพานออก
|
|
สายพานฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้ |
|
หมายเลขอะไหล่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ฝ่ายขายอะไหล่ 02-7576111 |
โซ่ขับเคลื่อนมีหน้าที่ ดังนี้
เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่มีหน้าที่ส่งผ่านพลังงานการขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ ไปยังล้อหลัง โดยทั่วไปแล้วโซ่ที่ใช้ในรถจักรยานยนต์จะเป็นโซ่แบบลูกกลิ้ง ตัว โซ่ประกอบด้วย แผ่นประกับ สลัก ปลอกสลัก และลูกกลิ้ง ใช้คลิปล็อกในการ เชื่อมต่อปลายโซ่เข้าด้วยกัน |
|
คุณสมบัติของโซ่ขับเคลื่อนฮอนด้า |
1. อายุการใช้งานยาวนาน
โซ่ขับเคลื่อนฮอนด้าทำจากวัสดุที่มีคุณภาพสูง ผลิตและประกอบด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยชิ้นส่วนต่างๆ ผ่านกระบวน การชุบแข็งที่ได้มาตรฐาน ทำให้โซ่ที่ได้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนี้ |
- ทนทานต่อการสึกหรอสูง ไม่เปราะ ไม่แตกง่าย
- สามารถรับแรงดึง (Tensile Strength) ได้สูงกว่ามาตรฐานทั่วไป
- สามารถทนทานต่อการล้าด้วยแรงที่มากระทำซ้ำๆ กัน (Fatigue Strength) ด้วยจำนวนครั้งที่สูง
|
|
2. ความเหมาะสมต่อการใช้งาน
ฮอนด้าได้เลือกโซ่ขับเคลื่อนที่มีขนาดและจำนวนข้อเหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ในแต่ละรุ่น ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถ ใช้รถจักรยานยนต์ได้อย่างเต็มสมรรถนะ อีกทั้งช่วยประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโซ่ขับเคลื่อน
1. ตรวจเช็คสภาพการสึกหรอจากสภาพการใช้งานทั้งสเตอร์หน้า สเตอร์หลังและโซ่ รวมถึงระยะความตึงหย่อน |
|
2. ใช้ตัวทำละลายที่ไม่ติดไฟ หรือมีจุดวาบไฟสูง ทำความสะอาดแล้ว เช็ดให้แห้ง และหล่อลื่นด้วยน้ำมันเครื่อง SAE 80 หรือ SAE 90 |
|
3. หลังจากตรวจสอบ ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่แล้วนั้น ให้ ทำการปรับตั้งให้ได้ตามมาตรฐาน คือ ค่าอยู่ระหว่าง 5 ~ 10 มม. |
|
ข้อมูลควรจำ !
- หากโซ่ขับเคลื่อนเกิดการสึกหรอ ควรเปลี่ยนโซ่ขับเคลื่อนและสเตอร์ใหม่ทั้งชุด จะสามารถใช้ได้ยาวนาน กว่าการเปลี่ยนอะไหล่เป็นบางชิ้น
- ตรวจสอบโซ่ขับเคลื่อนทุกครั้งที่มีการตรวจสอบสเตอร์หน้า และสเตอร์หลัง
- ใส่คลิปล็อคโซ่โดยให้ด้านเปิดหันไปทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนของโซ่ขับเคลื่อน
|
|
|
หมายเลขอะไหล่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ฝ่ายขายอะไหล่ 02-7576111 |
โซ่ขับเคลื่อนฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
สเตอร์มีหน้าที่ ดังนี้
เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่สำคัญของรถจักรยานยนต์ ทำหน้าที่ส่งผ่านพลังงานการขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ไปยังล้อหลัง ทำให้รถจักรยานยนต์สามารถวิ่งไปได้
1. สเตอร์หน้า ทำหน้าที่ส่งถ่ายพลังงานจากเพลาตามไปยังโซ่ขับเคลื่อน
2. สเตอร์หลัง ทำหน้าที่รับพลังงานจากโซ่ขับเคลื่อน และส่งต่อไปยังล้อหลัง
สเตอร์ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีขนาด รูปร่าง และจำนวนฟันแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการ ใช้งาน และชนิดของรถจักรยานยนต์
คุณสมบัติของสเตอร์ฮอนด้า
1. ทนต่อการสึกหรอ
สเตอร์ฮอนด้ามีความทนทานต่อการสึกหรอเพราะผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพดี และผ่านกระบวนการชุบแข็งที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นสเตอร์ฮอนด้าจึงมีอายุการ ใช้งานที่ยาวนาน |
|
2. ขนาดของสเตอร์
สเตอร์ฮอนด้าถูกออกแบบให้ทุกๆ ด้านนั้นมีขนาดที่พอเหมาะต่อการนำไปใช้ งาน ในบางยี่ห้อร่องกลางของสเตอร์หน้าอาจมีขนาดที่ใหญ่เกินไป และส่งผล ต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ |
|
3. ขนาดของสเตอร์
ฮอนด้าได้เลือกสเตอร์ที่มีขนาดและจำนวนฟันเหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ ในแต่ละรุ่น ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้รถจักรยานยนต์ได้อย่างเต็มสมรรถนะ อีกทั้งช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิง |
|
.
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสเตอร์ฮอนด้า
1. ตรวจเช็คสภาพการสึกหรอจากการใช้งานทั้ง สเตอร์หน้า สเตอร์หลัง โซ่ และระยะความ ตึงหย่อน |
|
2. ลักษณะสภาพของสเตอร์ในกรณีต่างๆ โดยเทียบ จากเกณฑ์ปกติตามมาตรฐาน |
|
|
|
|
3. ใช้ตัวทำละลายที่ไม่ติดไฟ หรือมีจุดวาบไฟสูง ทำความสะอาดแล้วเช็คให้แห้ง และหล่อลื่น ด้วยน้ำมันเครื่อง SAE 80 หรือ SAE 90 |
|
4. หลังจากตรวจสอบ ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่ แล้วนั้น ให้ทำการปรับตั้งให้ได้ตามค่ามาตรฐาน คือ ค่าอยู่ระหว่าง 5 ~ 10 มม. |
|
|
|
สเตอร์หน้าฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
|
|
|
|
สเตอร์หลังฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
|
|
หมายเลขอะไหล่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ฝ่ายขายอะไหล่ 02-7576111 |
โซ่สเตอร์ฮอนด้า ตามขนาดของรถแต่ละรุ่น ดังนี้ |
|
|
ข้อควรจำ !
- หากสเตอร์เกิดการสึกหรอ ควรเปลี่ยนโซ่ขับเคลื่อน และสเตอร์ใหม่ทั้งชุด จะสามารถใช้ได้ยาวนานกว่าเปลี่ยน เป็นบางชิ้น
- ตรวจสอบสเตอร์หน้าทุกครั้งที่มีการตรวจสอบสเตอร์หลัง รวมทั้งโซ่ขับเคลื่อนด้วย
|
ไส้กรองอากาศมีหน้าที่ ดังนี้
ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ติดมากับอากาศ คือ ทำให้อากาศสะอาดขึ้นและช่วยลดเสียงดังของอากาศขณะที่ไหล เข้าสู่เครื่องยนต์
คุณสมบัติของไส้กรองอากาศฮอนด้า
1. รักษาอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
ไส้กรองอากาศฮอนด้าทำมาจากวัสดุที่มีคุณภาพดี สามารถ กรองฝุ่นและสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปในเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน |
|
2. รักษาอัตราเร่ง และประหยัดเชื้อเพลิง
เป็นตัวกั้นประกายไฟที่เกิดจากความผิดพลาด ในการเกิด เหตุการณ์จุดระเบิดย้อนกลับ (Backfire) ไม่ให้ออกมานอก เครื่องยนต์ |
|
3. อายุการใช้งานยาวนาน
ไส้กรองอากาศฮอนด้าถูกพัฒนาและผลิตวัสดุที่มีคุณภาพสูง มักจะทำมาจากกระดาษอัดกลีบในรูปทรงแตกต่างกันไปตาม การออกแบบของเครื่องยนต์แต่ละรุ่น |
|
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับไส้กรองอากาศฮอนด้า
1. ไส้กรองมีผลโดยตรงต่ออัตราเร่ง และการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
ดังนั้นควรใช้ไส้กรองอากาศที่มีการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต |
|
|
2. ทำความสะอาดไส้กรองด้วยการใช้ลมเป่าด้านหลังของไส้กรองอากาศ
เพื่อให้ฝุ่นสิ่งสกปรกออกจากไส้กรอง (เฉพาะไส้กรองอากาศแบบกระดาษ) |
3. ส่วนไส้กรองอากาศแบบที่เป็นฟองน้ำ
ให้ล้างด้วยน้ำมันเบนซินเป่าลมจนแห้ง
แล้วนำไปชุบลงในน้ำมันเครื่องแล้วบีบให้แห้ง |
|
|
4. ตรวจเช็คสภาพไส้กรองอากาศจากช่างผู้ชำนาญ หรือศูนย์บริการฮอนด้าทั่วประเทศ |
การบำรุงรักษาไส้กรองอากาศแบบเปียก
ไส้กรองอากาศฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
ข้อควรจำ!
- ตรวจเช็คทุกๆ 4,000 กม. และเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 12,000 กม. (เฉพาะไส้กรองอากาศแบบแห้ง) หากใช้รถในพื้นที่ เปียกชื้น หรือมีฝุ่นเป็นจำนวนมากควรเช็คและทำความสะอาดไส้กรองอากาศให้มากขึ้นกว่ากำหนด
ยางรถจักรยานยนต์มีหน้าที่ ดังนี้
- รับน้ำหนักรถจักรยานยนต์ และน้ำหนักการบรรทุก
- ลดแรงกระแทก และการสั่นสะเทือนในการขับขี่
- รักษาทิศทางของการขับขี่
- เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงานในการขับขี่
คุณสมบัติของยางรถจักรยานยนต์ฮอนด้า
1. ความปลอดภัย
ยางฮอนด้าถูกพัฒนามาเพื่อให้มีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ฮอนด้า เช่น การเกาะถนน การบังคับรถ การทรงตัว และความนิ่มนวลในการขับขี่อยู่ในระดับที่สมดุลกัน
2. ความทนทาน
ยางฮอนด้ามีความทนทานสูง ผ่านการทดสอบโดยการบรรทุกของหนักและวิ่งด้วยความเร็วตามมาตรฐานของฮอนด้า
3. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
ยางฮอนด้าถูกออกแบบให้เหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ช่วยให้ผู้ขับขี่ประหยัดเงินค่าเชื้อเพลิง
ทำไมยางฮอนด้า....จึงได้รับการยอมรับในคุณภาพ !!!
อะไหล่ที่มีคุณภาพเกิดจากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การควบคุมและตรวจสอบ กระบวนการผลิตจึงเป็น ปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ฮอนด้าจึงดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่า อะไหล่ที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ฮอนด้า กำหนด
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับยางรถจักรยานยนต์ฮอนด้า
1. ตรวจสอบยางนอกว่าสึกหรอถึงระดับจะต้องเปลี่ยนหรือไม่ ให้สังเกตสัญลักษณ์ ที่ร่องยาง หากสึกหรอจนถึงสัญลักษณ์แสดงว่ายางหมดอายุการใช้งาน และตรวจ สอบสภาพของยางดูว่าปกติหรือไม่ |
|
2. ใช้แรงดันลมยางตามค่ามาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ (ดูคำแนะนำจากคู่มือผู้ใช้) เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่ |
|
ข้อควรจำ !
- แรงดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐาน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงกว่าปกติ ความร้อนสะสมที่ยางมีมากยางอาจจะระเบิดได้
- แรงดันลมยางสูงกว่ามาตรฐาน รถจะมีความสั่นสะเทือนสูง อาจเสียการ ควบคุมได้ง่าย
- แรงดันลมยางต่ำกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐาน มีผลทำให้ยางสึกหรอเร็วกว่าปกติ และอายุการใช้งานของยางจะสั้นลง
- ควรทำการตรวจเช็คสภาพยางทุกๆ 4,000 กม.และเปลี่ยนเมื่อสึกหรอมาก
ยางนอกฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
ผ้าเบรกมีหน้าที่ ดังนี้
เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญของรถจักรยานยนต์ที่สร้างแรงเสียดทาน เพื่อชะลอความเร็ว และหยุดรถได้ทันใจ รถจักรยานยนต์ ฮอนด้าที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันมีระบบเบรกอยู่ 2 ประเภท คือ
1. ระบบดรัมเบรก |
|
2. ระบบดิสก์เบรก |
|
|
|
|
คุณสมบัติของผ้าเบรกฮอนด้า
1. ความปลอดภัย ผ้าเบรกมีการควบคุมและทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญของ ฮอนด้า โดยทดลองการเบรกในสภาวะอุณหภูมิ ที่ต่างกัน และค่า ระยะการหยุดรถที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อผ้าเบรกจะไม่หลุด ร่อนออกจากกัน |
|
2. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ้าเบรกมีการการพัฒนาและผลิตจากวัตถุดิบที่ปราศจาก แร่ใยหิน ถ้ามีการสูดดมแร่ใยหินเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ง่าย |
|
3. สถานะการเบรก ผ้าเบรกได้ถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติอย่างเหมาะสมกับรถจักรยาน ยนต์ฮอนด้าในแต่ละรุ่น ทำให้ผู้ขับขี่สามารถมั่นใจว่าจะช่วยให้หยุดรถได้อย่าง ปลอดภัย |
|
4. การสึกหรอ เนื้อผ้าเบรกมีกระบวนการผลิตและคำนวณค่าส่วนผสมของวัตถุดิบ ไว้อย่างเหมาะสมโดยจะไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ทำให้สามารถเบรกได้อย่าง เต็มสมรรถนะ ที่สำคัญจานเบรกจะไม่สึกหรอ และเป็นรอยได้ง่าย |
|
ทำไมผ้าเบรกฮอนด้า....จึงได้รับการยอมรับในคุณภาพ !!!
อะไหล่ที่มีคุณภาพเกิดจากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การควบคุมและตรวจสอบ กระบวนการผลิตจึงเป็น ปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ฮอนด้าจึงดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่า อะไหล่ที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ฮอนด้า กำหนด
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผ้าเบรกฮอนด้า
ระบบดรัมเบรก |
1. ตรวจเช็คการทำงานของระบบเบรก ทั้งหน้าหลัง และความสึกหรอของผ้าเบรก
- ระยะฟรีเบรกหน้า 10-20 มม.
- ระยะฟรีเบรกหลัง 20-30 มม. |
|
|
|
2. ถ้ามีการเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ให้ทำการตรวจสอบดุมล้อทุกครั้งว่าเป็นรอยมากหรือไม่ ถ้าเป็นมากให้ทำ การเปลี่ยนดุมล้อใหม่
- การทำความสะอาดดุมล้อ ควรใช้ผ้าเช็ค ไม่ควร ใช้ลมเป่า |
|
|
ระบบดิสก์เบรก |
1. ตรวจเช็คการทำงานของระบบเบรก ทั้งหน้าหลัง และความสึกหรอของผ้าเบรก โดยจะสังเกตดูได้ จาก ร่องบอกระดับการสึกหรอของผ้าดิสก์เบรก
-ผ้าเบรกที่สึกหรอมากกว่าร่องบอกระดับ การสึก หรอของผ้าดิสก์เบรก จะทำให้ประสิทธิภาพการ เบรกไม่ดี จานเบรกสึกหรอมาก |
|
|
|
2. ในกรณีที่มีการซ่อมบำรุงรักษาเปลี่ยนชุดซ่อม ลูกยางเบรก จะต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันเบรก และทำการไล่ลมเบรก โดยช่างผู้ชำนาญหรือ ศูนย์บริการฮอนด้าทั่วประเทศ |
|
ข้อควรจำ !
- ระวังอย่าให้น้ำมันเบรกสัมผัสกับชิ้นส่วนที่เป็นสี หรือพลาสติกและกระเด็นเข้าในตา
- หลังจากไล่ลมเบรกเสร็จเรียบร้อยแล้วควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง |
|
ผ้าเบรกฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
ผ้าดรัมเบรก (หน้า)
ผ้าดรัมเบรก (หลัง)
|
|
ผ้าเบรกฮอนด้า ตามหมายเลขอะไหล่ดังนี้
ผ้าดิสก์เบรก (หน้า)
ผ้าดิสก์เบรก (หลัง)
|
|
ที่มา:http://www.aphonda.co.th/honda2008/